ในการอธิบายความเอนเอียงต่าง ๆ ของ การแปลการพินิจภายในผิด

มีนักวิชาการที่เสนอว่า ความเอนเอียงหลายอย่างเกิดขึ้นเพราะการใส่ใจมากเกินไปต่อความตั้งใจที่มียกตัวอย่างเช่น โดยใส่ใจในความตั้งใจดีที่มีอยู่ในขณะนี้ เราอาจจะประเมินโอกาสที่จะทำผิดศีลธรรมต่ำเกินไป[27]

การสำนึกรู้ถึงความเอนเอียง

มีปรากฏการณ์ที่รู้จักกันชัดเจนแล้วอย่างหนึ่งคือ bias blind spot (จุดบอดเรื่องความเอนเอียง) ที่เราประเมินตนเองว่า มีโอกาสที่จะมีความเอนเอียงน้อยกว่าคนอื่นในกลุ่มเดียวกันมีนักวิชาการที่เสนอว่า ปรากฏการณ์นี้มีได้เพราะการแปลการพินิจภายในผิด[28] ในงานทดลองของนักวิชาการเหล่านั้น มีการให้ผู้ร่วมการทดลองทำการประเมินตนเองและผู้ร่วมการทดลองอื่น[29] ผู้ร่วมการทดลองปรากฏว่ามีความเอนเอียงปกติทั่ว ๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น มีการให้คะแนนตนเองมากกว่าผู้อื่นในเรื่องคุณลักษณะต่าง ๆ (แสดงว่ามีความเอนเอียงประเภท illusory superiority)ต่อจากนั้น ผู้ทำการทดลองก็อธิบายเรื่องความเอนเอียงทางประชาน และถามผู้ร่วมการทดลองว่า การประเมินของผู้ร่วมการทดลองได้รับอิทธิพลจากความเอนเอียงหรือไม่ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนตนเองว่า มีโอกาสเสี่ยงต่อความเอนเอียงน้อยกว่าผู้ร่วมการทดลองอื่น (ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่ามีความเอนเอียงประเภท bias blind spot)และเมื่อต้องอธิบายเหตุผลการประเมินของตน ผู้ร่วมการทดลองใช้วิธีการประเมินที่ต่างกันเมื่อประเมินความเอนเอียงของตนเอง และเมื่อประเมินผู้อื่น[29]

นักวิจัยกลุ่มนี้ตีความว่า เมื่อเราจะประเมินว่าคนอื่นมีความเอนเอียงหรือไม่ เราจะสังเกตดูพฤติกรรมที่แสดงออกในนัยตรงกันข้ามกัน เมื่อประเมินว่าเราเองมีความเอนเอียงหรือไม่ เราจะมองภายในตัวเรา สังเกตหาความคิดและความรู้สึกที่อาจมีแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความเอนเอียงแต่เนื่องจากว่า ความเอนเอียงต่าง ๆ ทำงานใต้จิตสำนึก ดังนั้น การพินิจภายในเช่นนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์แต่ว่า เรามักจะเห็นความคิดความรู้สึกเหล่านั้นว่า เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ว่า ตนเองไม่เสี่ยงต่อความเอนเอียงซึ่งไม่เหมือนกับคนอื่น[28]

จากนั้นนักวิจัยก็พยายามให้ข้อมูลผู้ร่วมการทดลองเกี่ยวกับการพินิจภายในของผู้อื่นคือ นักวิจัยอัดเสียงของผู้ร่วมการทดลองที่กล่าวเรื่องที่ตนคิดเมื่อกำลังประเมินตนเองว่า คำตอบที่ให้ในคำถามที่ผ่านมามีอิทธิพลจากความเอนเอียงหรือไม่ผลก็คือ แม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองจะเชื่อว่าตนเองมีโอกาสน้อยที่จะมีความเอนเอียงแต่ว่าการรายงานการพินิจภายในของตน กลับไม่มีอิทธิพลต่อผู้อื่นเมื่อผู้อื่นประเมินความเอนเอียงของบุคคลนั้น[29]

เมื่อถามว่า การมีความเอนเอียงมีลักษณะอย่างไร ผู้ร่วมการทดลองมักจะกำหนดความเอนเอียงโดยความคิดและแรงจูงใจที่ตนได้พินิจพิจารณา เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับตนเองแต่จะกำหนดโดยพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้อื่นส่วนในผู้ร่วมการทดลองที่มีการห้ามไม่ให้ใช้การพินิจภายใน การประเมินความเอนเอียงของตนจะตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น[29]

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีงานทดลองอื่น ๆ ที่แสดงว่า เราไม่สามารถสำนึกถึงความเอนเอียงที่เราเองมี เช่น ในงานทดลองของนิสเบ็ตต์และวิลสัน ซึ่งแสดงว่าเรามีความเอนเอียงในการที่จะเลือกสินค้าขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่วางแสดงสินค้า เช่นการทดลองที่แสดงถุงเท้าพบว่า ผู้บริโภคมีความเอนเอียงที่จะเลือกถุงเท้าด้านขวาสุดมากกว่าถุงเท้าด้านซ้ายสุดเป็นอัตราส่วนถึง 4 ต่อ 1 แต่เมื่อมีการถามผู้บริโภคว่า ตนมีความเอนเอียงเช่นนี้หรือไม่ ผู้บริโภคจะบอกว่าไม่มี ซึ่งขัดกับข้อมูลที่ได้ในการทดลอง[8]:243 ซึ่งอาจจะบ่งถึงการการพินิจภายในที่ไม่แสดงความคิดและแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดความเอนเอียง

การสำนึกรู้การปรับตัวคล้อยตามสังคม

ในปี ค.ศ. 2007 มีงานวิจัยที่ศึกษาการกำหนดรู้การปรับตัวคล้อยตามสังคม (conformity)คือ ผู้ร่วมการทดลองรายงานว่า ตนเองสามารถอดทนต่อแรงกดดันในการปรับตัวให้คล้อยตามกับสังคมมากกว่าคนในกลุ่มเดียวกันโดยสาระก็คือ ผู้ร่วมการทดลองเห็นตนเองว่า เป็นผู้เดียวในกลุ่มบุคคลที่ถูกชักจูงได้ง่ายการแปลการพินิจภายในผิดดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์นี้เมื่อประเมินว่าคนอื่นเกิดการชักจูงเพราะแรงกดดันทางสังคมหรือไม่ ผู้ร่วมการทดลองจะพิจารณาแต่พฤติกรรมของบุคคลนั้นยกตัวอย่างเช่น จะอธิบายความคิดเห็นทางการเมืองของคนอื่นว่า เป็นไปตามกลุ่มสังคมอย่างไรแต่ว่าเมื่อประเมินการปรับตัวคล้อยตามสังคมของตนเอง ผู้ร่วมการทดลองเห็นว่าการพินิจภายในของตนนั้นเชื่อถือได้คือในใจของตนเอง ตนจะไม่พบเหตุจูงใจที่จะปรับตัว และดังนั้น ก็จะประเมินตนว่าไม่ได้รับอิทธิพลจากสังคม[30]

การสำนึกรู้การควบคุมตนเองและเจตจำนงเสรี

ศาสตราจารย์จิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ดร. แดเนียล เว็กเนอร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอ้างว่า การแปลการพินิจภายในผิดมีผลต่อความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ เช่น การเคลื่อนย้ายวัตถุโดยใจ (psychokinesis)[31] เขาให้ข้อสังเกตว่า ในชีวิตประจำวันของเรา เจตนา (เช่นเพื่อที่จะเปิดไฟ) จะตามมาด้วยการกระทำ (เช่นการกดสวิตช์ไฟ) อย่างเชื่อถือได้แต่ว่า กระบวนการที่เชื่อมต่อเหตุการณ์ทั้งสองความจริงแล้ว ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยจิตเหนือสำนึกดังนั้น แม้ว่าผู้ร่วมการทดลองอาจจะรู้สึกว่าตนได้ทำการพินิจเจตจำนงภายในของตนโดยตรงแต่ว่า จริง ๆ แล้ว ประสบการณ์ความรู้สึกว่าตนได้ทำการควบคุม ความจริงมาจากการอนุมานความสัมพันธ์ระหว่างความคิดและการกระทำนี้เป็นทฤษฎีที่เรียกว่า "apparent mental causation" (การมีใจเป็นเหตุให้เกิดผลโดยประจักษ์)[31]แต่ว่า กระบวนการที่ตรวจจับว่าตนเป็นเหตุของการกระทำหนึ่ง ๆ หรือไม่ ความจริงเชื่อถือไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ซึ่งเมื่อเกิดความผิดพลาดแล้ว อาจทำให้เกิดการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control)ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเหตุการณ์ภายนอกเกิดตาม หรือเกิดตรงกับ ความคิดของเรา ทั้ง ๆ ที่ความคิดนั้นจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นเหตุให้เหตุการณ์ภายนอกนั้นเกิดขึ้น[31]

เพื่อเป็นหลักฐาน ดร. เว็กเนอร์ได้ยกชุดการทดลองเกี่ยวกับความคิดเชิงไสยศาสตร์ (magical thinking)ที่ผู้ร่วมการทดลองถูกหลอกให้คิดว่า ตนมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ภายนอกในงานทดลองหนึ่ง ซึ่งให้ผู้ร่วมการทดลองดูนักกีฬาบาสเกตบอลทำการชู้ตลูกโทษถ้ามีการให้ผู้ร่วมการทดลองสร้างมโนภาพของนักกีฬาทำการชู้ตลูกโทษ ผู้ร่วมการทดลองจะรู้สึกว่าตนมีอิทธิพลต่อการชู้ตลูกโทษได้สำเร็จเพียงอาศัยความคิดนั้น[32]

ถ้าการแปลการพินิจภายในผิดมีผลให้เกิดความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยถึงเจตจำนงเสรีจริง ๆ เราก็ควรที่จะอ้างถึงเจตจำนงเสรีในตนเองมากกว่าผู้อื่นซึ่งเป็นคำพยากรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากผลงานวิจัยสามงานคือ

  • เมื่อถามนักศึกษามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการเลือกตัดสินใจในชีวิตของตนเองและของเพื่อนร่วมห้อง นักศึกษาพิจารณาว่า การเลือกตัดสินใจของตนเองนั้น พยากรณ์ได้ยากกว่า (เพราะความเสรีของเจตจำนง)
  • พนักงานร้านอาหารกล่าวถึงชีวิตของผู้ร่วมงานว่า มีกำหนดจำกัดมากกว่า (คือมีทางเลือกที่เป็นไปได้น้อยว่า) ของตนเอง
  • เมื่อชั่งอิทธิพลต่าง ๆ ต่อพฤติกรรม นักศึกษาให้ความสำคัญกับความต้องการและเจตจำนงสำหรับพฤติกรรมของตน แต่จะใช้ลักษณะนิสัยเพื่อพยากรณ์พฤติกรรมของผู้อื่น[33]

แต่ว่า ให้สังเกตว่า มีงานวิจัยที่วิจารณ์ความผิดพลาดของข้ออ้างที่ ดร. เว็กเนอร์ให้เกี่ยวกับความสำคัญของการแปลการพินิจภายในผิด ต่อความรู้สึกถึงเจตจำนงเสรี[34]

คำวิจารณ์

มีงานวิจัยที่เสนอว่า ผู้ร่วมการทดลองสามารถประเมินเวลาในการตอบสนองของตนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งแสดงถึงการรู้ "กระบวนการทางจิตใจ" ของตนแม้ว่า จะเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความใส่ใจและทรัพยากรทางประชานอื่น ๆ สูง (คือไม่สามารถทำได้ถ้าถูกกวนสมาธิเมื่อต้องทำการประเมิน)นักวิจัยของงานนี้เชื่อว่า การประเมินที่แม่นยำเช่นนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การตีความที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ (post-hoc interpretation) เท่านั้น แต่อาจจะเป็นกระบวนการที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่คนอื่นไม่มี (privileged information)[35][36]นอกจากนั้นแล้ว การฝึกสติ (Mindfulness traning) สามารถเพิ่มสมรรถภาพของการพินิจภายในได้ในสถานการณ์บางอย่าง[37][38][39]

งานของนิสเบ็ตต์และวิลสันยังได้รับการวิจารณ์จากนักวิชาการอื่น ๆ อีกหลายคนรวมทั้งนักจิตวิทยาทรงอิทธิพล ศ. ดร. เฮอร์เบิร์ต ไซมอน และ ศ. ดร. เค แอนเดอร์ส เอริคสัน[40]

ใกล้เคียง

การแปลสิ่งเร้าผิด การแปลการพินิจภายในผิด การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลการพินิจภายในผิด http://www.rotman.utoronto.ca/facbios/file/Djikic,... http://www.familyanatomy.com/2009/11/04/people-alw... http://www.msnbc.msn.com/id/9616467/ http://www.newscientist.com/article/mg20227046.400... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.ic.arizona.edu/ic/psyc358/358-Lect_6.ht... http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic67047.f... http://www.wjh.harvard.edu/~wegner/pdfs/Pronin,%20... http://mitpress.mit.edu/catalog/item/default.asp?t...